วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

เส้นทางสายหกสิบเอ็ด

 เส้นทางสายหกสิบเอ็ด

วันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ไปเที่ยวบึงโขงหลงชมทิวทัศน์ที่ภูลังกา

                                                             อลังการภูลังกา
          ภูลังกามีลักษณะเป็นภูเขาเรียงช้อนกันตามแนวแม่น้ำโขง คือ ภูลังกาเหนือ ภูลังกากลาง ภูลังกาใต้ ทอดยาวตามแนวทิศเหนือกับทิศใต้ และสลับด้วยเทือกเขาขนาดเล็กหลายลูกสลับซับซ้อนกัน มีความสูงจากระดับน้ำทะเล ที่จุดสูงสุดบนภูลังกาเหนือ สูง 563 เมตร จากระดับน้ำทะเล
มองจากระยะไกลจะเห็นยอดภู
บนยอดภูลังกาจะเป็นที่ราลกว้างใหญ่


          สภาพโดยทั่วไปของพื้นที่เป็นภูเขาหินทราย ปกคลุมด้วยป่าดิบแล้ง ป่าเบณจพรรณ และป่าเต็งรัง ดอกไม้ป่าที่มีอยู่โดยทั่วไป โดยเฉพราะกล้วยไม้ป่า รองเท้านารี   เท่าที่พบในปัจจุบันส่วนมากจะเป็นกล้วยไม้ตะกูลหวายและแดงอุบล  นอกจากนั้นภูลังกายังเป็นแหล่งสมุนไพรต่างๆ มีว่านนานาชนิด  ด้านบนภูลังกามีลานหินกว้างอยู่หลายแห่งที่สวยงามแปลกตา สลับกับป่าไม้ และดงกล้วยไม้ที่ขึ้นบนลานหิน นอกจากนี้ยังสามารถชมทิวทัศน์ได้รอบ จะได้เห็นแม่น้ำโขง ภูเขาสูงใหญ่ฝั่ง สปป.ลาว และเวียดนาม ความงามของบึงโขงหลงยามอาทิตย์อัสดงลาลับผ่านพ้นพื้นน้ำไป
พระพุทธรูปที่วัดป่ารอบๆภู


                                                                การเดินทาง
         โดย ทางรถยนต์
ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข2ถึงจังหวัดหนองคาย แล้วเลี้ยวขวาเข้าถนนหมายเลข212 ผ่านโพนพิสัย จังหวัดบึงกาฬ บุ่งคล้า เลี้ยวขวาเข้าถนนหมายเลข2026 เข้าอำเภอบึงโขงหลง


           ทางรถโดยสาร
หนองคาย-เซกา-บึงโขงหลง
อุดรธานี-เซกา-บึงโขงหลง
กรุงเทพ-บ้านแพง
          เครื่องบิน
มีเที่ยวบินที่ท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานี ทุกวันแล้วต่อรถโดยสารมาทางอำเภอหนองหาน-อ.สว่างแดนดิน-คำตากล้า-
แล้วเข้าบึงโขงหลงถึงที่หมาย

วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

วิถีชีวิตสรรพสิ่งทั้งหลาย




             สัตว์โลกทั้งหลายเกิดมาบนโลกนี้ย่อมมีส่วนสำคัญในระบบนิเวศทั้งสิ้นไม่ว่าสัตว์เล็กสัตว์ใหญ่สัตว์ประเสริฐที่เรียกว่ามนุษย์นั้นเอง ทุกสิ่งอย่างย่อมเกื้อหนุนชึ่งกันและกัน ผู้ที่ได้ชื่อว่าสัตว์ประเสริฐนั้นแต่ในความเป็นจริงแล้วหาเป็นเช่นนั้นไม่ มีทั้งความโลภ ความโกรธ หลง เกลียด อิจฉา  แก่งแย่งชิงดีชิงเด่น ใครมือยาวสาวได้สาวเอา คนดีกับถูกรังแกถูกใส่ร้ายป้ายสี กลั่นแกล้งต่างๆนานายิ่งผู้เป็นใหญ่มีอำนาจวาสนาไม่มีความเป็นธรรม เอนเอียงฟังความข้างเดียวขาดข้อมูลข้อเท็จจริงแล้วตัดสินในสิ่งที่ไม่ถูกต้องแล้ว คนดีก็จะกลายเป็นคนไม่ดีในสายตาของคนรอบข้าง ก็พากันสรรเสริญเยินยอผู้คิดไม่ดี คนไม่ดีอาศัยลูกตื้อดื้อ หน้าด้าน สร้างภาพก็สามารถเด่นดีในสังคมได้ ขัดแย้งโดยสิ้นเชิงกับสมญานามว่าเป็นผู้ประเสริฐ หากจะเปรียบเทียบกับสัตว์เดรัจฉานผู้ชึ่งไม่รู้อิโน่อิเน่อะไรที่คนมักจะเอาความไม่ดีของคนอื่นไปเปรียบเป็นเขาแล้วถือว่าคนๆนั้นแย่ยิ่งกว่าเขาเสียอีก เขาผู้ชึ่งเป็นสัตว์เดรัจฉานนั้นเขาไม่เคยที่จะไปสร้างความเดือนร้อนให้ใครเขาดำรงชีวิตของเขา ไม่แกร่งแย่ง ชิงดีชิงเด่นใครอยู่กับธรรมชาติ ตามวิถีชีวิตของเขาไปโดยไม่มีใครเอาเปรียบชึ่งกันและกันแล้วอย่างนี้จะให้บอกว่าคนที่บอกว่าตัวเองเป็นสัตว์ประเสริฐแล้วเทียวไปใส่ร้ายคนนั้นคนนี้ แล้วจะให้เทียบว่าคุณยิ่งมีจิตใจต่ำกว่าสัตว์เดรัจฉานอีกอย่างนั้นหรือ

ไปเที่ยวจังหวัดบึงกาฬไปชมแหล่งชุ่มน้ำโลกบึงโขงหลงเที่ยวชมภูว้ว,ภูลังกา,ภูทอก


      จังหวัดบึงกาฬที่เสนอให้จัดตั้งมีพื้นที่ทั้งหมด 4,305.746 ตารางกิโลเมตร จากการสำรวจความเห็นของประชาชนจังหวัดหนองคาย ปรากฏว่าประชาชนเห็นด้วยกับการจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ ร้อยละ 98.83 หากมีการจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ จะมีประชากรประมาณ 399,043 คนคน ประกอบด้วย 8 อำเภอคืออำเภอบึงกาฬ อำเภอปากคาด อำเภอโซ่พิสัย อำเภอพรเจริญ อำเภอเซกา อำเภอบึงโขงหลง อำเภอศรีวิไล และอำเภอบุ่งคล้า


     ที่ตั้งและอาณาเขต จังหวัดบึงกาฬ


• ทิศเหนือ ติดต่อกับแขวงบอลิคำไซ (สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว)
• ทิศตะวันออก ติดต่อกับแขวงบอลิคำไซ (สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว)
• ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอนาทม (จังหวัดนครพนม) อำเภออากาศอำนวย และอำเภอคำตากล้า (จังหวัดสกลนคร)อำเภอเฝ้าไร่ จังหวัดหนองคาย
• ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอรัตนวาปี และแขวงบอลิคำไซ (สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว)



การเดินทางเข้าสู่จังหวัดบึงกาฬสามารถเดินทางได้หลายทางดังนี้


1.รถยนต์จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหมายเลข 1 ผ่านจังหวัดสระบุรี (ที่นี่เป็นที่มาของ คำพูด “สระบุรีเลี้ยวขวา”) แล้วเข้าทางหลวงหมายเลข 2 ผ่านจังหวัดนครราชสีมา-จังหวัดขอนแก่น- จังหวัดอุดรธานี-จนถึงจังหวัดหนองคายและจากหนองคายสู่จังหวัดบึงกาฬใช้ทางหลวงหมายเลข 212 โดยจะผ่านอำเภอโพนพิสัย กิ่งอำเภอรัตนวาปี อำเภอปากคาด รวมระยะทางทั้งสิ้นประมาณ 715 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางโดยประมาณ (ประมาณ 11 ชั่วโมง 4 นาที)

2. รถโดยสารประจำทาง
มีรถโดยสารประจำทางทั้งรถโดยสารธรรมดาและรถปรับอากาศ
- จากบริษัทขนส่งจำกัด http://www.transport.co.th/โทรศัพท์ : 02 – 936 – 2841 – 48, 02 – 936 – 2852 – 66 ต่อ 442, 311
- บริษัท แอร์อุดร จำกัด http://airudon.comze.com/ได้นำรถที่มีมาตรฐาน ระดับ วี.ไอ.พี. มาให้บริการ โดยสำรองที่นั่ง กรุงเทพฯ โทร 02 936 2735 อุดรธานี โทร 042 245 789 สถานที่จำหน่ายตั๋วอาคารหมอชิต 2 ชั้น 3 ช่องจำหน่ายตั๋ว 55 และ 118 (หลังประชาสัมพันธ์ ชั้น 3)
- บริษัท 407 พัฒนา ให้บริการด้วยรถปรับอากาศชั้น 1 และชั้น 2 ชนิด ม.1ข ,ม.4ข ,ม.1พ ,ม.2 ให้บริการรถสาย กรุงเทพฯ หนองคาย บึงกาฬ บุ่งคล้า, กรุงเทพฯ กุมภวาปี บึงกาฬ ,ระยอง-ขอนแก่น-พังโคน-บึงกาฬ
และยังมีรถบริษัทเอกชนหลายแห่ง จัดรถวิ่งระหว่างกรุงเทพฯ-หนองคาย โดยเริ่มจากสถานีขนส่งภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ถนนกำแพงเพชร หรือที่รู้จักในนาม “หมอชิต2″ และจากตัวจังหวัดอุดรธานีก็จะมีรถธรรมดาวิ่งมาจากสาย 224 อุดร-นครพนม หรือสาย 225 อุดร –นครพนมวิ่งผ่านทางจังหวัดสกลนคร ทุกวัน ดูรายละเอียดการเดินรถทัวร์ทั่วประเทศได้จาก เว็บรถทัวร์ไทย.คอม http://www.rottourthai.com/

3. รถไฟมีขบวนรถไฟจากกรุงเทพฯ-หนองคาย และขบวนรถด่วนดีเซลราง กรุงเทพ – อุดรฯ ทุกวัน ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 1690, 0 2223 7010,0 2223 7020 www.railway.co.th สถานีรถไฟหนองคาย โทร. 0 4241 1592

4. เครื่องบิน
สามารถไปได้โดยลงที่สนามบินจังหวัดอุดรธานี รายละเอียดสอบถามได้ที่บริษัทการบินไทย จำกัดhttp://www.thaiairways.co.th/ ศูนย์สำรองที่นั่ง 023561111
สายการบิน ไทยแอร์เอเชีย โทร. 0 2515 9999 http://www.airasia.com/th/th/home.html
สายการบินนกแอร์
www.nokair.com Call us Nok Air at 1318 or +662- 900-9955


สายการบินโอเรียนท์ไทย http://www.flyorientthai.com/th หรือ ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ (Call Center) 1126


ระยะทางจากตัวจังหวัดไปยังอำเภอ
 อ.พรเจริญ                                     46          กิโลเมตร
 อ.ปากคาด                                       44.89  กิโลเมตร
 อ.ศรีวิไล                                          20.67  กิโลเมตร
 อ. โซ่พิสัย                                     79.20    กิโลเมตร
 อ.เซกา                                         101.79   กิโลเมตร
 อ.บุ่งคล้า                                       42.52    กิโลเมตร
 อ.บึงโขงหลง                               89.04     กิโลเมตร
ขอขอบคุณข้อมูลจากhttp://www.bungkan.com/

วันอาทิตย์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

งานวันลอยกระทงพระประทีบพระราชทาน

   เมื่่อวันที่10พฤศจิกายน2554เวลาประมาณ17.00น. จังหวัด  สกลนคร    ได้มีการจัดงานเทศกาลลอยกระทงพระประทีบพระราชทานสิบสองเพ็งไทสกล  ประจำปี 2554  เป็นงานประเพณีลอยกระทงที่ ชาว จ.สกลนคร ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก พระบาทสมเด็จระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ได้พระราชทานพระประทีป รวมจำนวน 12 พระองค์  ร่วมลงลอยกับชาวสกลนครที่หนองหารบริเวณสระพังทอง สวนสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี    เป็นประจำทุกปี    โดยมีพิธีรับระราชทาน พระประทีป  และไฟพระราชทาน  ในคืนวันเพ็ญเดือน  12 ซึ่งจะมีผู้แทนพระองค์   อัญเชิญพระประทีปพระราชทานมาลงลอยร่วมกับพสกนิกร ในงานมีการประดับประดาไฟและจุดพลุงดงามตระการตา  ขบวนแห่กระทงที่ตระการตา ชมการประกวดนางนพมาศ การประกวดกระทงสวยงาม มีภาพมาให้ชมด้วยนะครับ เชิญชมครับ

กระทงและไฟพระราชทาน

รองผู้ว่าราชการจังหวัด